ประกาศ
เรื่อง ทางเลือกที่ 3 การซึมน้ำ และลดปัญหาน้ำท่วม (SL 4)
ของการประเมินอาคารตามมาตรฐาน TREES NC/CS และ EB

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest
Share on print
Print

ประกาศ
เรื่อง ทางเลือกที่ 3 การซึมน้ำ และลดปัญหาน้ำท่วม (SL 4)
ของการประเมินอาคารตามมาตรฐาน TREES NC/CS และ EB


สืบเนื่องจากการประเมินอาคารเขียวตามมาตรฐาน TREES เรื่องการคำนวณน้ำฝนไหลล้น ซึ่งมีแนวทางที่คล้ายกับทาง EIA เพื่อให้โครงการที่มีการคำนวณ EIA อยู่แล้วสามารถทำคะแนนข้อ SL4 ได้ โดยไม่ต้องทำการจำลองสภาพที่ซับซ้อน จึงได้มีการสร้างทางเลือกที่ 3 ของข้อ SL4 ขึ้น ดังนี้
ทางเลือกที่3 สามารถใช้สมการในการพิสูจน์ว่าโครงการมีอัตราการระบายน้ำ และปริมาตรของน้ำฝน จากการใช้ข้อมูลความเข้มของน้ำฝน คาบอุบัติ 2 ปี และตกเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากข้อมูล Intensity-Rainfall-Return-Period โดยการคำนวณสามารถอ้างอิงสมการ


Q = 0.278 x C x I x A x10-6


โดย


Q = อัตราการไหลนองของน้ำฝน (ลูกบาศก์เมตร/วินาที)
C = ค่าสัมประสิทธิ์การไหลล้น (ค่าสัมประสิทธิ์การไหลล้นไหลนอง)
I = ค่าความเข้มฝนในคาบอุบัติ (มิลลิเมตร/ชั่วโมง)
A = พื้นที่ (ตารางเมตร)


การคำนวณให้แบ่งเป็นการคำนวณอัตราการไหลของน้ำฝนทั้งก่อนและหลังการพัฒนาเป็นรายชั่วโมง โดยทำการคำนวน


1.อัตราการไหลสูงสุดก่อนและหลังการพัฒนา
2.ปริมาณน้ำไหลออกจากโครงการตลอด 24 ชั่วโมงก่อนและหลังการพัฒนา
3.กรณีใช้ปั๊ม สามารถกำหนดอัตราการไหลสูงสุดได้จากขนามปั๊มที่เลือก โดยเทียบกับอัตราการไหลสูงสุดก่อนการพัฒนา
4.กรณีใช้การ overflow สามารถใช้การคำนวณได้โดยสามารถเลือกใช้สมการที่มีความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ หรือสามารถใช้สมการดังต่อไปนี้เพื่อหาขนาดของท่อระบายน้ำล้นสูงสุด


Q = A (k n / n) R h 2/3 S 1/2


โดย


Q = อัตราการไหลนองของน้ำฝน (ลูกบาศก์เมตร/วินาที)
A = พื้นที่หน้าตัดท่อ (ตารางเมตร)
R h= รัศมีของท่อ (เมตร)
S = ความชันของท่อ (เมตร/เมตร)
K n = 1 (SI unit)
n = Manning coefficient of roughness (คอนกรีตใหม่ = 0.013)


ทั้งนี้การทำคะแนนสำหรับเกณฑ์ TREES NC/CS V1.1 และ V2.0 ให้อ้างอิงจากตารางด้านล่างนี้


สำหรับการทำคะแนนของเกณฑ์ TREES EB 1.0 ให้อ้าอิงการทำคะแนนโดยคำนวณเฉพาะปริมาณน้ำฝนไหลล้นที่กักเก็บได้ ตามข้อกำหนดด้านล่างนี้


1.โครงการสามารถกักเก็บน้ำฝนไหลล้น ได้ร้อยละ 5-15 ของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่โครงการสำหรับฝนเฉลี่ยราย 2 ปี เมื่อฝนตก 24 ชั่วโมง


2.มีการบริหารจัดการระบบการระบายน้ำ หน่วงน้ำ ที่มีประสิทธิภาพใช้งานได้และไม่อุดตัน ตลอดช่วงดำเนินการ

ประกาศฉบับนี้มีผลทั้งโครงการที่ลงทะเบียนไปแล้วที่ยังไม่ได้ส่งข้อ SL4 มาให้สถาบันฯตรวจประเมิน และมีผลบังคับไปยังโครงการในอนาคตที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน อีกทั้งประกาศฉบับนี้มีผลกับ TREES-NC/CS V1.1 TREES-EB V1.0 และ TREES-NC/CS V2.0


ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2567
สถาบันอาคารเขียวไทย