บทความศูนย์การเรียนรู้ธนาคารกสิกรไทย เป้าหมายสู่ LEED Platinum (ผศ.ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์)

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on pinterest
Pinterest
Share on print
Print

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารกสิกรไทย เป้าหมายสู่ LEED Platinum  (ตอนที่ 1)
โดย ดร. จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์ LEED AP, TREES-A

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ท่ามกลางกระแสอาคารเขียวทั้งในและต่างประเทศที่กำลังทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งในไทยและในต่างประเทศ องค์กรชั้นนำต่างๆ ในประเทศไทยเองก็ปรับตัวรับกับกระแสเหล่านี้ โดยได้มีการนำอาคารที่กำลังสร้างใหม่และอาคารเดิมของตนเข้าร่วมโครงการประเมินอาคารเขียวในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกณฑ์ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) อย่างเป็นทางการ ซึ่งองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารกสิกรไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ไทยออยล์ Citibank HSBC ตลอดจนองค์กรภาครัฐและเอกชน อีกเป็นจำนวนมากที่ได้มีนโยบายการประกวดแบบและจัดจ้าง ให้อาคารต้องผ่านเกณฑ์ LEED ไม่ว่าจะเป็นระดับรางวัลใดรางวัลหนึ่งเป็นอย่างน้อย  ผู้เขียนขอแนะนำอาคารเขียวแห่งใหม่ของธนาคารกสิกรไทยที่มุ่งหวังที่จะผ่านการรับรองระดับสูงสุด LEED Platinum จาก USGBC (US Green Building Council) อาคารใหม่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนรู้ธนาคารกสิกรไทย บางปะกง  อาคารถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารพักอาศัยสำหรับพนักงานของธนาคารที่มาเข้าร่วม งานสัมมนา และเพื่อใช้ในการจัดงานสัมมนาเพิ่มเติมนอกเหนือจากพื้นที่การสัมมนาในอาคารหลักที่มีอยู่เดิม โครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ใหม่นี้เป็นอาคาร 4 ชั้น และชั้นกึ่งใต้ดิน 1 ชั้น เป็นชั้นพักอาศัย 3 ชั้น ตั้งแต่ชั้น 2-4 ซึ่งมีจำนวนห้องพักรวม 52 ห้อง ส่วนชั้นที่ 1 เป็นชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วยห้องบรรยายขนาดใหญ่ ความจุ 150 ที่นั่งจำนวน 4 ห้อง และส่วนประชาสัมพันธ์ ส่วนชั้นกึ่งใต้ดินเป็นพื้นที่ส่วนบริการ ห้องเครื่อง และที่จอดรถ 
แนวความคิดในการออกแบบของโครงการเป็นไปตามเกณฑ์อาคารเขียวระดับสากล  ซึ่งก็คือ LEED  โดยเป็นไปตาม LEED สำหรับอาคารใหม่ หรือ New Construction (NC) Version 3  ซึ่งหากอาคารนี้ผ่านการรับรองระดับ Platinum  ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของ LEED  จะทำให้เป็นอาคารหลังแรกทีได้ผ่านเกณฑ์ประเภท NC V3 เป็นหลังแรกของไทย  โดยอาคารต้องสามารถทำคะแนนได้ 80 คะแนนขึ้นไปจาก 110 คะแนน และต้องผ่านข้อบังคับทั้ง 8 ข้อของ LEED   ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะได้คะแนนราว 82 คะแนน ทั้งนี้จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าหากทางธนาคารต้องการทำคะแนนเพิ่มขึ้นกว่านี้ก็สามารถกระทำได้ แต่การลงทุนจะเพิ่มสูงขึ้นมากเกินกว่างบประมาณที่วางไว้มาก ดังนั้น การทำคะแนนในแต่ละข้อต้องมีความถูกต้องและชัดเจนตามข้อกำหนดของ LEED  เนื่องจากคะแนนที่ใกล้กับคะแนนขั้นต่ำของระดับรางวัล Platinum มาก การมีส่วนร่วมและการประสามงานของทุกฝ่ายจึงมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการ  และที่สำคัญที่สุดคือ ที่ปรึกษา LEED  ที่จะต้องตีความหมายคะแนนและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้มีข้อผิดพลาดในการทำคะแนนให้น้อยที่สุดผู้เขียนขอแนะนำอาคารเขียวแห่งใหม่ของธนาคารกสิกรไทยที่มุ่งหวังที่จะผ่านการรับรองระดับสูงสุด LEED Platinum จาก USGBC (US Green Building Council) อาคารใหม่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนรู้ธนาคารกสิกรไทย บางปะกง  อาคารถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารพักอาศัยสำหรับพนักงานของธนาคารที่มาเข้าร่วม งานสัมมนา และเพื่อใช้ในการจัดงานสัมมนาเพิ่มเติมนอกเหนือจากพื้นที่การสัมมนาในอาคารหลักที่มีอยู่เดิม โครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ใหม่นี้เป็นอาคาร 4 ชั้น และชั้นกึ่งใต้ดิน 1 ชั้น เป็นชั้นพักอาศัย 3 ชั้น ตั้งแต่ชั้น 2-4 ซึ่งมีจำนวนห้องพักรวม 52 ห้อง ส่วนชั้นที่ 1 เป็นชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วยห้องบรรยายขนาดใหญ่ ความจุ 150 ที่นั่งจำนวน 4 ห้อง และส่วนประชาสัมพันธ์ ส่วนชั้นกึ่งใต้ดินเป็นพื้นที่ส่วนบริการ ห้องเครื่อง และที่จอดรถ 
แนวความคิดในการออกแบบของโครงการเป็นไปตามเกณฑ์อาคารเขียวระดับสากล  ซึ่งก็คือ LEED  โดยเป็นไปตาม LEED สำหรับอาคารใหม่ หรือ New Construction (NC) Version 3  ซึ่งหากอาคารนี้ผ่านการรับรองระดับ Platinum  ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของ LEED  จะทำให้เป็นอาคารหลังแรกทีได้ผ่านเกณฑ์ประเภท NC V3 เป็นหลังแรกของไทย  โดยอาคารต้องสามารถทำคะแนนได้ 80 คะแนนขึ้นไปจาก 110 คะแนน และต้องผ่านข้อบังคับทั้ง 8 ข้อของ LEED   ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะได้คะแนนราว 82 คะแนน ทั้งนี้จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าหากทางธนาคารต้องการทำคะแนนเพิ่มขึ้นกว่านี้ก็สามารถกระทำได้ แต่การลงทุนจะเพิ่มสูงขึ้นมากเกินกว่างบประมาณที่วางไว้มาก ดังนั้น การทำคะแนนในแต่ละข้อต้องมีความถูกต้องและชัดเจนตามข้อกำหนดของ LEED  เนื่องจากคะแนนที่ใกล้กับคะแนนขั้นต่ำของระดับรางวัล Platinum มาก การมีส่วนร่วมและการประสามงานของทุกฝ่ายจึงมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการ  และที่สำคัญที่สุดคือ ที่ปรึกษา LEED  ที่จะต้องตีความหมายคะแนนและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้มีข้อผิดพลาดในการทำคะแนนให้น้อยที่สุด บทความนี้ ผู้เขียนได้สรุปแนวทางที่การทำคะแนน LEED ของศูนย์การเรียนรู้ธนาคารกสิกรไทยโดยได้แสดงไว้ในตารางคะแนน LEED ที่ระบุถึงคะแนนที่คาดว่าจะได้ และคะแนนที่ไม่มีการมุ่งทำคะแนน การทำคะแนนในตารางดังกล่าวนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรการการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่ามาตรการไหนได้ถูกนำมาใช้ในอาคารหลังนี้และเพราะเหตุใด  ในทางกลับกัน เหตุใดบางมาตรการจึงถูกปฏิเสธไม่ให้มีการลงทุนหรือนำมาใช้ในโครงการ  แนวทางดังกล่าวน่าจะมีส่วนช่วยผู้อ่านไม่มากก็น้อยใน การกำหนดแนวทางดำเนินโครงการอาคารที่มีความคุ้มทุนและมีประสิทธิภาพสูงสุด  เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการนี้มีค่อนข้างมากจึงไม่สามารถจบได้ในบทความเดียว  ผู้เขียนจึงขออธิบายแนวคิดและมาตรการต่างๆ เป็นตอนๆ ซึ่งในบทความตอนแรกนี้ ผู้เขียนจะอธิบายถึงแนวคิดตามหมวดคะแนนของ LEED  ซึ่งได้แก่ ความยั่งยืนของที่ตั้งโครงการ ของโครงการก่อน ส่วนเรื่องประสิทธิภาพการใช้น้ำ พลังงานและบรรยากาศ วัสดุและทรัพยากร คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร นวัตกรรม และความเร่งด่วนส่วนภูมิภาค จะขอยกไปอธิบายในบทความฉบับต่อไป 
ความยั่งยืนของที่ทั้งโครงการ (Sustainable Site)
ในหมวดนี้มีคะแนนสูงถึง 26 คะแนน และข้อบังคับ 1 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับที่ตั้งโครงการ และการออกแบบผังบริเวณของโครงการ

  • การก่อสร้างที่มีผลกระทบต่ำ เนื่องจากเป็นคะแนนข้อบังคับทางผู้รับเหมาะจำเป็นต้องจัดทำแผนควบคุมมลภาวะระหว่างการก่อสร้างที่เป็นไปตามมาตรฐาน EPA (Environmental Protection Agency) โดยต้องคำนึงถึงการปนเปื้อนของท่อระบายน้ำ และคลองต่างๆ ที่อาจเกิดจากเศษฝุ่นและดินของโครงการ อีกทั้ง  ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นที่เกิดขึ้น  ในโครงการนี้ตั้งอยู่ใกล้กับคลองขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำบางปะกง การป้องกันฝุ่นตะกอนด้วยรั้วขึงตาข่าย (silt fence) จึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้การวางแผนในการดักตะกอนด้วยร่องดิน(Earth dike)  ยังมีส่วนช่วยให้สามารถควบคุมการไหลของน้ำไปยังบ่อดักตะกอนก่อนที่น้ำจะไหลออกนอกพื้นที่โครงการ นอกจากนี้ยังมีการขุดแอ่งเพื่อล้างล้อรถบรรทุก  การจัดพื้นที่ล้างสีและสารเคมี เพื่อให้การก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
  • การเลือกที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม ในข้อนี้ต้องมีการวางแผนการหลีกเลี่ยงการก่อสร้างโครงการในพื้นที่    ทางเกษตรกรรม สวนสาธารณะ แก้มลิง ที่อยู่อาศัยของสัตว์สงวน พื้นที่น้ำท่วมถึง และแหล่งน้ำต่างๆ  ซึ่งหลังจากการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ของโครงการไม่ได้อยู่ในพื้นที่ต้องห้ามตามข้อกำหนด  ซึ่งควรได้รับเอกสารยืนยันจากทางราชการเป็นภาษาอังกฤษเพื่อยื่นประเมินด้วย
  • พื้นที่ Brownfield  ซึ่งเป็นพื้นที่ทางอุตสาหกรรมที่มีการขจัดสารพิษตามมาตรฐาน ASTM การพัฒนาโครงการบนพื้นที่ดังกล่าว จึงถือเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ไร้ประโยชน์ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง เนื่องจากพื้นที่โครงการไม่มีหลักฐานว่ามีการปนเปื้อนมาก่อน จึงไม่สามารถทำคะแนนในข้อนี้ได้
  • การลดผลกระทบจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งถือว่ามีการใช้พลังงานอย่างมหาศาล ดังนั้น LEED จึงให้คะแนนไว้สูงถึง 12 คะแนน โดยมาตรการต่างๆ ประกอบด้วย การจัดทำแผนสนับสนุนการใช้  shutter bus  และห้ามการใช้รถยนต์ส่วนตัว (ขับมาคนเดียว) มาที่โครงการ ซึ่ง shutter bus จะทำการรับส่งจากโครงการที่ไม่มีระบบขนส่งมวลชนไปยังระบบขนส่งมวลชนที่ใกล้ที่สุด อีกทั้งยังมีการจัดที่จอดจักรยานพร้อมห้องอาบน้ำสำหรับพนักงานเพื่อความสะดวกในการเดินทางมายังอาคารจากอาคารใกล้เคียง และยังมีการระบุที่จดรถสำหรับรถ eco car และ carpool ไว้ในตำแหน่งที่จอดที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์   ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
  • การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตัวอาคารมีบริเวณพื้นที่สีเขียวโดยรอบอย่างเหลือเฟือ ซึ่งสามารถนับได้ทั้งเป็นพื้นที่    สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่งตามเกณฑ์ LEED  นอกจากนี้เนื่องจากพื้นที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กฎหมายกำหนดมากกว่า 1.5 เท่า  จึงทำให้สามารถทำคะแนนพิเศษในหมวดนวัตกรรมได้อีก 1 คะแนน
  •  การลดปัญหาน้ำท่วม ทางโครงมีการจัดเตรียมบ่อหน่วงน้ำที่มีขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในงาน ภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งจะสามารถใช้ในการหน่วงน้ำก่อนออกจากโครงการได้ บ่อดังกล่าวมีราคาไม่สูงนักผนวกกับมีพื้นที่โครงการมากจึงสามารถเตรียมพื้นที่บ่อไว้ได้  นอกจากนี้ยังมีการควบคุมคุณภาพของน้ำฝนด้วยการขุดบ่อซึมทรายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานภูมิสถาปัตยกรรมและมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับระบบ บ่อทรายที่ต้องพึ่งระบบปั๊มในการอัดแรงดัน  ซึ่งมีราคาสูงกว่าบ่อทรายธรรมชาติหลายเท่าตัว การใช้ระบบบ่อซึมทรายธรรมชาตินี้ต้องมีพื้นที่พอเพียงเพิ่มเติมจะระบบบ่อหน่วงน้ำที่ใช้ในการชะลอน้ำท่วมไหลล้น
  • ลดปรากฏการณ์เกาะร้อน(Urban Heat Island) เนื่องจากที่จอดรถบนดินกลางแจ้งมักทำด้วยคอนกรีต  หรือไม่ก็ลาดยางมะตอยซึ่งอมความร้อนสูง ที่จอดรถดังกล่าวจึงทำให้อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมือง การแก้ปัญหาคือการไม่ให้ที่จอดรถโดนแดดซึ่งในโครงการนี้ได้มีการนำที่จอดรถสอดเข้าไปใต้อาคารได้ 100% จึงสามารถได้ทั้งคะแนนในหมวดนี้และในหมวดนวัตกรรมเพิ่มอีก 1 คะแนน ส่วนหลังคานั้น หากจะทำคะแนนต้องใช้กระเบื้องสีอ่อนที่มีค่า SRI 78 หรือ SRI 29 ที่ความชันหลังคามากกว่า 1:6 ขึ้นไป แต่เนื่องจากสีที่ผ่านเกณฑ์นั้นไม่กลมกลืนกับอาคารโดยรอบ ทางธนาคารจึงตัดสินใจ ไม่ทำคะแนนในหมวดหลังคาที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เกาะความร้อน
  • มลภาวะทางแสง ตัวอาคารมีการติดตั้ง timer  ซึ่งทำให้ทางอาคารสามารถความคุมการเปิดปิดได้จากศูนย์กลาง ทำให้สามารถควบคุมแสงที่อาจไปรบกวนต่อทั้งคนและสัตว์ยามค่ำคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบแสงสว่างภายนอกอาคารยังถูกออกแบบให้ไม่ใช้พลังงานมาก ไม่มีการฉายแสงไฟเข้าสู่อาคาร แต่ยังสว่างเพียงพอที่จะคงรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานให้กับผู้ใช้อาคาร นอกจากนี้โครงการ   ยังหลีกเลี่ยงการวางดวงโคมที่อาจส่องแสงเกินขอบเขตของพื้นทีโครงการ ผนวกกับการที่พื้นที่โครงการค่อนข้างกว้างและมีพื้นที่สวน (ไม่มีระบบแสงสว่าง) ล้อมรอบจึงสมารถทำคะแนนข้อนี้ได้ง่าย